ตำนาน เรื่องลี้ลับ “เสาชิงช้าสีแดง” สูงตระหง่านที่ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักพราหมณ์และวัดสุทัศน์ เป็นสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่อย่างหนึ่งใจกลางกรุงเทพมหานคร ด้วยความที่ เสาชิงช้า เป็นสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ จึงเต็มไปด้วยตำนานสยดสยองมากมาย ซึ่งในสมัยก่อนเสาชิงช้าไม่ได้เป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีโล้ชิงช้าสุดหวาดเสียวที่สังเวยชีวิตผู้คนจำนวนมากในทุกๆปี
ตำนาน เสาชิงช้า

เสาชิงช้าถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี วัสดุทำมาจากไม้แท้ทุกส่วนผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ทั้งฝนตก ฟ้าผ่า ไฟไหม้ หักพัง มีการบูรณะอยู่หลายครั้ง โดยเสาชิงช้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า พิธีโล้ชิงช้าหรือตรียัมปวาย อันมาจากตำนานเรื่องเล่าของศาสนาพราหมณ์ เมื่อพระอิศวรเสด็จเยี่ยมชมโลก ท่านได้พนันกับพระแม่อุมาว่า โลกจะแข็งแรงพอหรือไม่ พระแม่อุมาจึงสั่งให้พญานาคตัวใหญ่ผูกหัวและหางไว้กับต้นพุทราที่อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำ บ้างก็ว่าพยานาคผูกหัวและหางของมันไว้กับภูเขาที่ตั้งอยู่ใกล้กัน จากนั้นทำการแกว่งตัวให้พระอิศวรขึ้นไปนั่งห้อยขาลงมาข้างหนึ่ง หากเท้าของพระอิศวรสัมผัสกับพื้นแล้วโลกรับไม่ไหวแสดงว่า โลกยังไม่แข็งแรงมากพอ ซึ่งสุดท้ายโลกก็ทนได้ พระอิศวรจึงเป็นฝ่ายชนะ ตั้งแต่นั้นมาเป็นประจำทุกปี รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้จัดประเพณีโล้ชิงช้าขึ้น เพื่อละลึกถึงวันที่พระอิศวรมาเยือนโลก โดยใช้เสาชิงช้าแทนต้นพุทรา เชือกและตัว กระดานที่ผูกไว้เป็นชิงช้าแทนพญานาค ส่วนพระมหากษัตริย์ที่นั่งดูพิธีกรรมอยู่บนเฉลียงแทนพระอิศวร และจะมีการเกณฑ์คนที่มาทำหน้าที่โล้ชิงช้า เรียกว่า นาลิวัน ต้องมีคุณสมบัติเป็นพราหมณ์หนุ่มหรือขุนนางชั้นสูงในราชสำนักที่มีอายุตั้งแต่ 18-20 ปี ร่างกายแข็งแรงจำนวน 12 คน ทำการโล้ชิงช้า 3 ครั้ง ครั้งละ 4 คน เริ่มจากให้คนที่อยู่หัวและท้ายกระดานทำหน้าที่แกว่งชิงช้า ส่วน 2 คนที่อยู่ตรงกลางหันหน้าชนกัน พนมมือและใช้แขนทั้งสองข้างคล้องสายชิงช้าเอาไว้ คนที่อยู่หัวชิงช้ามีหน้าที่ต้องไปเอาเงินรางวัลที่แขวนอยู่เสาด้านหน้าไม่ไกลจากเสาชิงช้ามากนักโดยใช้ปากคาบ ส่วนคนที่อยู่ท้ายชิงช้ามีหน้าที่ป่วนไม่ให้คนที่อยู่หัวชิงช้าคาบเงินรางวัลมาได้ง่ายๆ เพื่อความเร้าใจของผู้รับชม ด้วยเหตุนี้เองในทุกปีที่จัดประเพณีนี้ขึ้นจึงมีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่สมัยนั้นถือว่า ใครที่ล้มตายจากการโล้ชิงช้าเป็นผู้มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง ทุกคนจึงยินดีทำหน้าที่นี้

สำหรับตำนาน เรื่องลี้ลับ ปัจจุบันพิธีโล้ชิงช้าถูกล้มเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 เพราะถือว่าเป็นประเพณีที่ดูป่าเถื่อน ทั้งยังใช้งบประมาณในการจัดงานสูง ยังมีข่าวลือด้วยว่า ผู้คนที่ล้มตายจากประเพณีนี้จะถูกนำร่างฝังไว้ใต้เสาชิงช้าเกิดเป็นวิญญาณเร่ร่อนหลอกหลอนผู้คนยามค่ำคืน บ้างก็กลายเป็นเปรตวัดสุทัศน์ แต่หลังจากมีการขุดเสาชิงช้าปรากฏว่า ไม่พบร่องรอยว่าเคยมีศพฝังมาก่อน จึงสันนิษฐานได้ว่า อาจเป็นข่าวลือที่ถูกนำไปผูกโยงกับเรื่องของการฝังเสาหลักเมือง

อัพเดทข่าวสาร สาระดีๆ เพิ่มเติมที่ The7days