พระพรหม เป็นเทพตามศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือกำเนิดมาจากสายสะดือของพระศิวะ บ้างก็ว่าพระพรหมถือกำเนิดขึ้นมาแต่ก่อนกาลพร้อมกับจักรวาลเสียด้วยซ้ำ จึงเป็นผู้ที่สามารถลิขิตชะตา ควบคุมสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ แรกเริ่มเดิมที พระพรหมท่านมี 5 เศียร แต่ไปดูหมิ่นพระศิวะซึ่งเป็นเทพสูงสุดเข้า จึงถูกตัดเศียรข้างบนสุดทิ้งไป จึงเหลือเพียง 4 เศียร ซึ่งหันหน้าไปทางทิศทั้งสี่
บูชาพระพรหมอย่างไรให้ถูกต้อง

สี่ทิศของพระพรหม ท่านว่าจะให้พรแตกต่างกัน โดยการบูชาพระพรหมนั้น ต้องใช้ธาตุทั้ง 4 อันประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ เริ่มจากใช้ธูปเป็นตัวแทนของลม เทียนเป็นตัวแทนของธาตุไฟ ดอกบัวแทนธาตุดินและถวายน้ำหนึ่งแก้วแทนธาตุน้ำ ซึ่งนอกจากดอกบัวแล้วก็สามารถใช้ดอกไม้ชนิดอื่นซึ่งมีกินหอมอ่อนๆได้ เช่น ดอกมะลิ ดอกดาวเรือง แต่ละพระพักตร์จะมีความหมายเฉพาะ ได้แก่ ทิศด้านหน้าของท่าน เป็นทิศไว้สำหรับขอพรให้บิดาโดยเฉพาะ แต่ถ้าขอให้ตนเอง ให้ขอเรื่องอำนาจบารมี ความก้าวหน้าในชีวิต อย่างการสอบ การเรียน หน้าที่การงาน พักตร์นี้ต้องใช้ธูป 16 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำหนึ่งแก้ว ใบหน้าทางด้านขวา ไว้สำหรับขอพรเรื่องทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ ขอให้เงินที่ถูกยืมไปกลับคืนมาก็ได้ โดยให้ จุดธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอกและน้ำ 1 แก้ว พระพักตร์ทำด้านหลังเป็นทิศของมารดา มีโอกาสขอพรให้แม่แล้วสำเร็จมากที่สุด รวมถึงของให้คนในครอบครัว คนรัก และด้านสุขภาพด้วย โดยทิศนี้ต้องใช้ธูป 39 ดอก ในส่วนของเทียน ดอกบัวและน้ำให้ถวายเท่าทิศอื่นๆที่ผ่านมา พักตร์สุดท้าย คือ ทิศด้านซ้ายมือ ใช้ธูป 19 ดอก เทียนดอกไม้และน้ำเท่าเดิม ไว้สำหรับขอพรในเรื่องโชคลาภ การเสี่ยงดวง หวย และบุตร การไหว้พระพรหมนี้ ถ้าให้ดีต้องไหว้ทุกทิศโดยเวียนตั้งแต่ด้านหน้าก่อน แล้วจึงวนด้านขวามาเรื่อยๆจนครบ แต่ถ้าใครไม่เคร่งมากก็สามารถไหว้เฉพาะด้านที่ตนอยากขอได้ ส่วนวันไหว้นั้น สามารบูชาถวายของได้ทุกวัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้บูชา แต่ท่านว่าห้ามไหว้ในวันพระ เพราะพระองค์จะเสด็จไปปฎิบัติธรรมบนสวรรค์ ไม่ว่างมารับคำขอจากผู้บูชา ในส่วนของข้อห้าม คือ ห้ามปล่อยให้ที่บูชาสกปรก ห้ามถวายเครื่องดื่มมึนเมา อาหารคาว ของดิบ เนื้อสัตว์ หากอยากถวายอาหารให้เป็นอาหารเจและขนมต่างๆที่ไม่มีไข่ผสม

สำหรับผู้มีจิตศรัทธาอยากหาพระพรหมมาบูชา สามารถเช่าบูชาได้ โดยนำมาวางรวมไว้บนหิ้งพระ แต่ห้ามสูงกว่าพระพุทธรูป หรือถ้าใครไม่สะดวกบูชาที่บ้าน สามารถแวะเวียนไปสักการะท่านตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านประดิษฐ์สถานอยู่ก็ได้เช่นกัน
